ดอยฟ้าห่มปก
อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
ดอยที่สูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่เดิมชื่อ “อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก” และเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก” ในปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 524 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 327,500 ไร่ ครอบคลุมอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ในเขตท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดต่อกับพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง คือ ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน พื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอแม่อาย คือ ตำบลมะลิกา ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน และพื้นที่ 2 ตำบลของอำเภอไชยปราการ คือ ตำบลหนองบัว และตำบลปงตำ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า อันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม และดอยฟ้าห่มปก เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย เช่น ห้วยแม่ใจ ห้วยแม่สาว น้ำแม่กึมหลวง น้ำแม่ฮ่าง น้ำแม่แหลง
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.7-19.0 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39.1 องศาเซลเซียส และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงามน่าสนใจ คือ ดอยผ้าห่มปก ดอยสูงอันดับ 2 ของประเทศไทย (400-2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) บ่อน้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ ถ้ำห้วยบอน น้ำตกโป่งน้ำดัง น้ำตกตาดหลวง
บนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้น ชั้นหินเป็นหินแกรนิต ประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขา ขนานกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่นจะพบพันธุ์พืช สัตว์ป่าหายากและที่น่าสนใจนานาชนิด อาทิ เทียนหาง บัวทอง ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง ฯลฯ
เส้นทางขึ้นดอยผ้าห่มปกมี 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางกิ่วลม ทางปางมงคล และทางหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว ผู้สนใจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ที่พักอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก มีบ้านพักไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้ บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์และพื้นที่กางเต็นท์
สามารถจองด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช www.dnp.go.th หรือโทรติดต่อให้เจ้าหน้าที่ทำการจองให้ได้ที่หมายเลข 0 2562 0760 (8 คู่สายอัตโนมัติ)
ลานกางเต็นท์ที่เปิดให้บริการมี 2 ลาน คือ
1. ลานกางเต็นท์บ่อน้ำร้อน โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2. ลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม อยู่เส้นทางขึ้นยอดดอยผ้าห่มปก ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 37 กิโลเมตร คือ จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ – ด่านห้วยบอน 19 กิโลเมตร, ด่านห้วยบอน – ลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม 18 กิโลเมตร และเดินเท้าจากลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม – จุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม 3.5 กิโลเมตร
การใช้บริการลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม ผู้ใช้บริการต้องติดต่อขอรับบริการ ณ ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน เพื่อรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทั้งในเรื่องเส้นทาง ยานพาหนะ รับเต็นท์และอุปกรณ์เครื่องนอน (กรณีใช้เต็นท์และอุปกรณ์ของอุทยานแห่งชาติ)
การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อถึงเชียงใหม่ให้แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 107 เส้นทางไปแม่ริม ขับตรงสู่อำเภอฝาง ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ผ่าน อ. เชียงดาว ที่มีดอยหลวงเชียงดาวที่ยิ่งใหญ่ เมื่อจะเข้าเมืองฝางให้ใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง วงแหวนฝั่งตะวันตก เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายเลี่ยงเมือง จะผ่านสี่แยกถนนเล็กๆ แล้วก็ผ่านสะพานข้ามลำห้วยเล็กๆ จากนั้นจะเจอทางสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางลาดยางสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ขับตรงไปจนเจอทางสามแยกให้แยกไปทางขวา ขับไปจนสุดถนนนั่นคือที่ทำการอุทยานฯ จอดรถไว้ที่ทำการอุทยาน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาขึ้นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4FD เพื่อไปส่งยังจุดเริ่มเดินเท้า พูดเหมือนสะดวกเพราะนั่นเป็นการเดินทางโดยรถส่วนตัวหรือรถตู้เช่าเหมาไป
การเดินทางโดยรถโดยสาร
จากกรุงเทพฯ มีรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ – ท่าตอน ของบริษัท บขส และ บ. นิววิริยะยานต์ วิ่งให้บริการ รถออกจากท่ารถหมอชิตใหม่ สี่โมงกว่า ห้าโมงกว่า หกโมงกว่า เวลาชัวร์ๆ โทรไปสอบถามที่สถานีขนส่ง
รถจะผ่านเมืองฝางตอนเช้าตรู่ จากฝางเช่ารถเข้าไปยังอุทยาน หลังจากนั้นก็ติดต่อเจ้าหน้า เสียค่าธรรมเนียม และขึ้นดอย
เที่ยวกลับมีรถสายเดิมวิ่งผ่านตอนสี่โมงกว่าๆ ห้าโมงกว่าๆ ถ้าให้ชัวร์ก็ต้องโทรไปสอบถามออฟฟิคของรถทัวร์ที่ฝาง
หรือถ้าจะเดินทางจากฝางเข้าเชียงใหม่ ก็มีรถตู้ให้บริการ ฝาง-เชียงใหม่ ออกทุกๆ 30 นาที ติดต่อที่ท่ารถตู้ที่ฝาง ไปไม่ถูกเรียกมอไซด์ไปส่งได้เลย ใกล้ๆ รถตู้จะมาจอดที่สถานีช้างเผือก จากสถานีช้างเผือกจะไปไหนต่อก็เรียกใช้บริการรถสี่ล้อแดง ถ้าประหยัดก็นั่งไปเรื่อยๆ ถ้ารีบๆ ก็เหมาไปเลย ราคาไม่เท่าไรจ๊ะ
การขึ้นดอยแต่ละครั้งจะต้องขออนุญาตและมีเจ้าหน้าที่นำทาง ถ้านำรถโฟร์วีลไปเองก็ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพราะว่าเส้นทางขึ้นยอดดอยมีคานเหล็กขวางกั้น เจ้าหน้าที่ๆ นำเราขึ้นดอยจะเป็นผู้ไขกุญแจจึงผ่านไปได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคนท้องถิ่นนำรถขึ้นมาขนของป่า เช่น สนเกี๊ย หรือของป่าอื่นๆ เจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าเอารถขึ้นมาได้ก็จะขนกันทีละเยอะๆ แต่ถ้าปิดซะ ถึงแม้จะมีมอเตอร์ไซด์ผ่านมาได้แต่ก็ขนของได้ไม่มากเท่าไร ตรวจค้นก็ง่าย สรุปว่าเข้าไปเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบ ไม่แพง ค่าเข้าคนละ 20 บาท รถคันละ 30 บาท ค่ากลางเต็นท์ 2 คืน 60 บาท เท่านี้เอง
เมื่อขึ้นดอยไปแล้วจะไปชมพระอาทิตย์ตกก็ควรให้เจ้าหน้าที่นำทาง ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่ว่างก็จะจัดคนนำทางท้องถิ่นนำทางให้ บางคณะเดินกันเองเพราะคิดว่าเส้นทางเด่นชัด แต่ปรากฎว่าหลงป่าครับ 2 ทุ่มแล้วยังไม่ลงกันมาอีก คราวนี้ก็ลำบากเจ้าหน้าที่ ต้องพากันออกไปตาม ก่อนออกไปก็ได้ยิงเสียงปืนดังสามนัดเขาบอกว่ายิงเพื่อให้หมีมันหลบๆ ไป ที่นี่ถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็จริงแต่ว่าในแต่ละปีจะปิดซะเป็นส่วนใหญ่ จะเปิดในช่วงต้นหนาวทำให้สัตว์ป่ายังออกมาหากินกันตามปกติ หมีตัวใหญ่ๆ มีเยอะ หมาไนฝูงละเป็นร้อยตัว เรื่องความปลอดภัยไม่ควร งก นะครับ บริษัททัวร์ก็ไม่ควรประหยัดค่าเจ้าหน้าที่นำทาง พาเดินโดยที่ตนเองยังไม่รู้เส้นทางก็หลง ถ้าหลงต้องนอนในป่าล่ะก็ลำบากแน่สำหรับป่านี้ ถึงแม้ออกมาได้ก็ต้องผ่านดงต้นช้างร้องซึ่งที่นี่มีเป็นดงๆ ทั่วไปหมด ไม่คุ้มเลย ใช้เจ้าหน้าที่นำทางดีกว่า หลงก็ไม่หลง ถามข้อมูลก็รู้ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่ย่อมมีความรู้ความชำนาญพื้นที่ดีกว่าเรา หรืออย่างน้อยก็ทำให้นักท่องเที่ยวสบายใจ
การเดินทางสู่ยอดดอย จากจุดพักแรมสามารถเดินขึ้นไปยังจุดสูงสุดของดอยผ้าห่มปกเพียง 2 ชั่วโมง ควรมีเจ้าหน้านำทางดังเหตุผลข้างบนครับ
ดอยที่สูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่เดิมชื่อ “อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก” และเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก” ในปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 524 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 327,500 ไร่ ครอบคลุมอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ในเขตท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดต่อกับพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง คือ ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน พื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอแม่อาย คือ ตำบลมะลิกา ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน และพื้นที่ 2 ตำบลของอำเภอไชยปราการ คือ ตำบลหนองบัว และตำบลปงตำ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า อันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม และดอยฟ้าห่มปก เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย เช่น ห้วยแม่ใจ ห้วยแม่สาว น้ำแม่กึมหลวง น้ำแม่ฮ่าง น้ำแม่แหลง
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.7-19.0 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39.1 องศาเซลเซียส และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงามน่าสนใจ คือ ดอยผ้าห่มปก ดอยสูงอันดับ 2 ของประเทศไทย (400-2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) บ่อน้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ ถ้ำห้วยบอน น้ำตกโป่งน้ำดัง น้ำตกตาดหลวง
บนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้น ชั้นหินเป็นหินแกรนิต ประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขา ขนานกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่นจะพบพันธุ์พืช สัตว์ป่าหายากและที่น่าสนใจนานาชนิด อาทิ เทียนหาง บัวทอง ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง ฯลฯ
เส้นทางขึ้นดอยผ้าห่มปกมี 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางกิ่วลม ทางปางมงคล และทางหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว ผู้สนใจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ที่พักอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก มีบ้านพักไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้ บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์และพื้นที่กางเต็นท์
สามารถจองด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช www.dnp.go.th หรือโทรติดต่อให้เจ้าหน้าที่ทำการจองให้ได้ที่หมายเลข 0 2562 0760 (8 คู่สายอัตโนมัติ)
ลานกางเต็นท์ที่เปิดให้บริการมี 2 ลาน คือ
1. ลานกางเต็นท์บ่อน้ำร้อน โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2. ลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม อยู่เส้นทางขึ้นยอดดอยผ้าห่มปก ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 37 กิโลเมตร คือ จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ – ด่านห้วยบอน 19 กิโลเมตร, ด่านห้วยบอน – ลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม 18 กิโลเมตร และเดินเท้าจากลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม – จุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม 3.5 กิโลเมตร
การใช้บริการลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม ผู้ใช้บริการต้องติดต่อขอรับบริการ ณ ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน เพื่อรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทั้งในเรื่องเส้นทาง ยานพาหนะ รับเต็นท์และอุปกรณ์เครื่องนอน (กรณีใช้เต็นท์และอุปกรณ์ของอุทยานแห่งชาติ)
การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อถึงเชียงใหม่ให้แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 107 เส้นทางไปแม่ริม ขับตรงสู่อำเภอฝาง ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ผ่าน อ. เชียงดาว ที่มีดอยหลวงเชียงดาวที่ยิ่งใหญ่ เมื่อจะเข้าเมืองฝางให้ใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง วงแหวนฝั่งตะวันตก เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายเลี่ยงเมือง จะผ่านสี่แยกถนนเล็กๆ แล้วก็ผ่านสะพานข้ามลำห้วยเล็กๆ จากนั้นจะเจอทางสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางลาดยางสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ขับตรงไปจนเจอทางสามแยกให้แยกไปทางขวา ขับไปจนสุดถนนนั่นคือที่ทำการอุทยานฯ จอดรถไว้ที่ทำการอุทยาน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาขึ้นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4FD เพื่อไปส่งยังจุดเริ่มเดินเท้า พูดเหมือนสะดวกเพราะนั่นเป็นการเดินทางโดยรถส่วนตัวหรือรถตู้เช่าเหมาไป
การเดินทางโดยรถโดยสาร
จากกรุงเทพฯ มีรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ – ท่าตอน ของบริษัท บขส และ บ. นิววิริยะยานต์ วิ่งให้บริการ รถออกจากท่ารถหมอชิตใหม่ สี่โมงกว่า ห้าโมงกว่า หกโมงกว่า เวลาชัวร์ๆ โทรไปสอบถามที่สถานีขนส่ง
รถจะผ่านเมืองฝางตอนเช้าตรู่ จากฝางเช่ารถเข้าไปยังอุทยาน หลังจากนั้นก็ติดต่อเจ้าหน้า เสียค่าธรรมเนียม และขึ้นดอย
เที่ยวกลับมีรถสายเดิมวิ่งผ่านตอนสี่โมงกว่าๆ ห้าโมงกว่าๆ ถ้าให้ชัวร์ก็ต้องโทรไปสอบถามออฟฟิคของรถทัวร์ที่ฝาง
หรือถ้าจะเดินทางจากฝางเข้าเชียงใหม่ ก็มีรถตู้ให้บริการ ฝาง-เชียงใหม่ ออกทุกๆ 30 นาที ติดต่อที่ท่ารถตู้ที่ฝาง ไปไม่ถูกเรียกมอไซด์ไปส่งได้เลย ใกล้ๆ รถตู้จะมาจอดที่สถานีช้างเผือก จากสถานีช้างเผือกจะไปไหนต่อก็เรียกใช้บริการรถสี่ล้อแดง ถ้าประหยัดก็นั่งไปเรื่อยๆ ถ้ารีบๆ ก็เหมาไปเลย ราคาไม่เท่าไรจ๊ะ
การขึ้นดอยแต่ละครั้งจะต้องขออนุญาตและมีเจ้าหน้าที่นำทาง ถ้านำรถโฟร์วีลไปเองก็ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพราะว่าเส้นทางขึ้นยอดดอยมีคานเหล็กขวางกั้น เจ้าหน้าที่ๆ นำเราขึ้นดอยจะเป็นผู้ไขกุญแจจึงผ่านไปได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคนท้องถิ่นนำรถขึ้นมาขนของป่า เช่น สนเกี๊ย หรือของป่าอื่นๆ เจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าเอารถขึ้นมาได้ก็จะขนกันทีละเยอะๆ แต่ถ้าปิดซะ ถึงแม้จะมีมอเตอร์ไซด์ผ่านมาได้แต่ก็ขนของได้ไม่มากเท่าไร ตรวจค้นก็ง่าย สรุปว่าเข้าไปเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบ ไม่แพง ค่าเข้าคนละ 20 บาท รถคันละ 30 บาท ค่ากลางเต็นท์ 2 คืน 60 บาท เท่านี้เอง
เมื่อขึ้นดอยไปแล้วจะไปชมพระอาทิตย์ตกก็ควรให้เจ้าหน้าที่นำทาง ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่ว่างก็จะจัดคนนำทางท้องถิ่นนำทางให้ บางคณะเดินกันเองเพราะคิดว่าเส้นทางเด่นชัด แต่ปรากฎว่าหลงป่าครับ 2 ทุ่มแล้วยังไม่ลงกันมาอีก คราวนี้ก็ลำบากเจ้าหน้าที่ ต้องพากันออกไปตาม ก่อนออกไปก็ได้ยิงเสียงปืนดังสามนัดเขาบอกว่ายิงเพื่อให้หมีมันหลบๆ ไป ที่นี่ถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็จริงแต่ว่าในแต่ละปีจะปิดซะเป็นส่วนใหญ่ จะเปิดในช่วงต้นหนาวทำให้สัตว์ป่ายังออกมาหากินกันตามปกติ หมีตัวใหญ่ๆ มีเยอะ หมาไนฝูงละเป็นร้อยตัว เรื่องความปลอดภัยไม่ควร งก นะครับ บริษัททัวร์ก็ไม่ควรประหยัดค่าเจ้าหน้าที่นำทาง พาเดินโดยที่ตนเองยังไม่รู้เส้นทางก็หลง ถ้าหลงต้องนอนในป่าล่ะก็ลำบากแน่สำหรับป่านี้ ถึงแม้ออกมาได้ก็ต้องผ่านดงต้นช้างร้องซึ่งที่นี่มีเป็นดงๆ ทั่วไปหมด ไม่คุ้มเลย ใช้เจ้าหน้าที่นำทางดีกว่า หลงก็ไม่หลง ถามข้อมูลก็รู้ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่ย่อมมีความรู้ความชำนาญพื้นที่ดีกว่าเรา หรืออย่างน้อยก็ทำให้นักท่องเที่ยวสบายใจ
การเดินทางสู่ยอดดอย จากจุดพักแรมสามารถเดินขึ้นไปยังจุดสูงสุดของดอยผ้าห่มปกเพียง 2 ชั่วโมง ควรมีเจ้าหน้านำทางดังเหตุผลข้างบนครับ
แผนที่ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก